Under Construction

น้ำมันหญ้าเอ็นยืด

จ.เพชรบูรณ์

9,770

฿ 200 / ขวด (75มล.)


กำลังการผลิตต่อเดือน : 1,500
สินค้ามีจำหน่ายตลอดทั้งปี

สั่งซื้อสินค้า โปรดคลิก


รายละเอียดสินค้า

ผักกาดน้ำ หรือหญ้าเอ็นยืด

ผักกาดน้ำ ชื่อสามัญ Common plantain, Greater plantain, Waybread (ในภาษาอังกฤษคำว่า Plantain จะหมายถึง ต้นกล้วย ซึ่งต้นกล้วยชนิดนี้เมื่อสุกแล้วจะต้องเอาไปเผาถึงจะใช้ปรุงเป็นอาหารได้)[1],[5]

ผักกาดน้ำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Plantago major L. จัดอยู่ในวงศ์เทียนเกล็ดหอย (PLANTAGINACEAE)[1]

สมุนไพรผักกาดน้ำ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หญ้าเอ็นยืด[1] หญ้าเอ็นหยืด[2] หญ้าเอ็นอืด (เชียงใหม่), หมอน้อย (กรุงเทพฯ), ผักกาดน้ํา ผักกาดน้ำไทย ผักกาดน้ำใหญ่ (ไทย), เชียจ่อยเช่า ตะปุกชี้ ยั้วเช่า ฮำผั่วเช่า เซียแต้เฉ้า (จีน), ต้าเชอเฉียนเฉ่า (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[3],[4]

ต้นผักกาดน้ำ

สรรพคุณของผักกาดน้ำ

  1. ทั้งต้นใช้ปรุงเป็นยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ได้แก่ ดอกเก๊กฮวย ว่านกาบหอย กล้วยหอมดิบ รากบัวหลวง สนหมอก ฯลฯ (ทั้งต้น)[1]
  2. รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กระษัย (ราก)[5]
  3. ใช้แก้ความดันโลหิตสูง ด้วยการใช้ผักกาดน้ำและพลูคาวอย่างละ 35 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (เข้าใจว่าคือส่วนของต้นและใบ)[3]
  4. ช่วยทำให้ตาสว่าง (เมล็ด)[3]
  5. ช่วยรักษาตาแดงเฉียบพลัน ตาเป็นต้อ (ต้น)[3] แก้ขอบตาเป็นเม็ดบวม (ทั้งต้น)[4]
  6. ทั้งต้นนำไปต้มกับน้ำตาลกรวด ใช้กินเป็นยาแก้อาการร้อนใน แก้เจ็บคอ มีฤทธิ์เป็นยาเย็น (ต้น)[1],[3] ส่วนเมล็ดก็เป็นยาแก้ร้อนในเช่นกัน (เมล็ด)[3]
  7. ช่วยแก้ไอหวัด หลอดลมอักเสบ (ต้น)[3] ช่วยขับเสมหะ แก้อาการไอ (เมล็ด)[3] รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ (ราก)[7]
  8. ใบใช้ต้มกินเป็นยาแก้เลือดกำเดาไหล (ใบ)[11]
  9. ช่วยขับน้ำชื้น (ต้น)[3]
  10. ช่วยแก้ท้องร่วง (ทั้งต้น)[4] ต้นใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ลำไส้อักเสบ (ต้น)[3
  11. แก้บิด ให้นำมาต้มร่วมกับผักพลูคาว (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)[11]
  12. ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นเป็นยาขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ละลายก้อนนิ่วในไต แก้นิ่วในถุงน้ำดี ขับล้างทางเดินปัสสาวะ แก้ช้ำรั่ว หรือทางเดินปัสสาวะ ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ด้วยการใช้ทั้งต้นประมาณ 1 กำมือนำมาต้มกับน้ำกิน หรือจะใช้ทั้งต้นที่ได้มาใส่ในเครื่องปั่นแล้วปั่นให้ละเอียด นำไปผสมกับน้ำซาวข้าวประมาณ 1 ขวดแม่โขง แล้วนำมาดื่มให้หมดภายใน 1 วัน และให้ดื่มติดต่อกัน 2-3 วัน ก้อนนิ่วจะละลายหลุดออกมาตามท่อปัสสาวะ (ทั้งต้น)[1],[2],[3],[4],[10] ส่วนอีกตำราระบุให้ใช้เมล็ด 500 กรัมนำมาต้มกับน้ำ 3 ลิตร โดยต้มจนเหลือน้ำ 1 ลิตรแล้วนำมาแบ่งกิน 3 ครั้ง เป็นยาขับปัสสาวะ (เมล็ด)[3]
  13. ช่วยแก้ปัสสาวะแดง ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น (ทั้งต้น)[4] ส่วนเมล็ดก็เป็นยาแก้ปัสสาวะเป็นเลือดเช่นกัน (เมล็ด)[3]
  14. ช่วยแก้กามโรค หนองใน (ทั้งต้น)[4],[7]
  15. มีบางข้อมูลที่ระบุว่าสามารถนำมาใช้เป็นยาบำรุงกำหนัด เพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ โดยใช้ได้ทั้งต้นและใบ แต่ส่วนของใบจะมีสรรพคุณมากที่สุด วิธีก็คือให้นำไปตากแดดให้แห้งแล้วทำเป็นชาชงดื่ม หรือจะกินเป็นผักสดก็ได้ และยังใช้เป็นยาขับประจำเดือนของตรี โดยช่วงที่สรรพคุณตัวยาดีที่สุด คือ ช่วงการออกดอกใหม่ ๆ (ช่วงฤดูฝน) ข้อมูลนี้ไม่ขอยืนยันนะครับ เพราะแหล่งข้อมูลไม่ได้อ้างอิงไว้ว่าเอาข้อมูลมาจากที่ไหน (ใบ)[12]
  16. ช่วยแก้ไตอักเสบ บวมน้ำ ขาบวมน้ำ (ต้น)[3]
  17. ใบผักกาดน้ำเป็นยาห้ามเลือดภายนอก แต่ห้ามเลือดภายในไม่ได้ โดยมีการศึกษาจนเป็นที่ยอมรับแล้วว่า ผักกาดน้ำมีประสิทธิภาพในการรักษาบาดแผลจากการที่ทำให้เลือดหยุดไหลและช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ อีกทั้งยังช่วยลดอาการอักเสบและช่วยลดอาการบวมได้อีกด้วย (ใบ)[1],[7],[8]
  18. ใช้ตำพอกรักษาแผลที่หายยาก (ทั้งต้น)[4]
  19. ใช้รักษาแผลสด แผลเรื้อรัง ผิวหนังอักเสบ แก้อาการคัน ลดอาการแพ้ ต้านการอักเสบจากการแพ้พืชต่าง ๆ เช่น อาการคันจากการถูกต้นตำแย หรือจะใช้แก้พิษจากการถูกผึ้งต่อยหรือแมลงสัตว์กัดต่อยก็ได้ และยังเชื่อว่าการใช้ผักกาดน้ำรักษาแผลจะช่วยทำให้ไม่เกิดแผลเป็น โดยการนำใบมาตำใช้เป็นยาพอกบริเวณที่มีอาการแล้วให้เปลี่ยนยาบ่อย ๆ (ใบ)[1],[2],[4],[8]
  20. ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนังได้หลายชนิด เช่น อาการอักเสบของผิวหนังของทารกที่เรียกว่า "ผ้าอ้อมกัด" ด้วยการใช้ใบผักกาดน้ำแห้ง นำมาแช่ในน้ำมันแล้วนำไปตากแดด เพื่อสกัดสารออกมาจากใบ แล้วนำน้ำมันที่ได้มาใช้ทาบริเวณที่เป็น (ใบ)[8]
  21. ใช้แก้โรคเชื้อราที่เท้า ด้วยการใช้ใบสดนำมาบดใส่และห่อผ้าพอกทิ้งไว้ (ใบ)[11]
  22. ช่วยดับพิษฝี (ทั้งต้น)[4]
  23. น้ำคั้นจากใบใช้ทารักษาอาการไหม้จากการถูกแสงแดด ถูกลม (ใบ)[8]
  24. ผักกาดน้ำหรือหญ้าเอ็นยืดเป็นยาสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ช่วยแก้อาการปวดตึงบริเวณคอ หลัง เอว แขน ขา แก้ฟกช้ำบวมจากการหกล้มกระทบกระแทก แก้ข้อเท้าแพลง ดังนั้นหากมีอาการดังกล่าวก็ให้นำหญ้าเอ็นยืดมาทุบให้น้ำออกแล้วนำไปพอกบริเวณที่เป็น เชื่อว่าจะช่วยทำให้เส้นเอ็นคลายตัว ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดลงได้ โดยลูกประคบหรือยาจู้ของหมอเมืองนอกที่นอกเหนือไปจากการขมิ้นและไพล ยังมีสมุนไพรหลักอีกตัวหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือ หญ้าเอ็นยืด (ต้น)[8]
  25. ทั้งต้นใช้เป็นยาพอกรักษาอาการนิ้วซ้น เคล็ดขัดยอก เส้นเอ็นพลิก ช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย หรือใช้พอกบริเวณที่เอ็นยึด จะช่วยคล้ายเส้นได้ (ทั้งต้น)[7] ส่วนรากก็นำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ปวดหลัง ปวดเอว แก้อาการช้ำใน (ราก)[5] ส่วนใบก็แก้ปวดหลังปวดเอวได้เช่นกัน (ใบ)[7] และยังมีการใช้เป็นยารักษาอาการปวดเข่า ใช้พอกต่อเส้นเอ็น (ใบ)[7] หรือนำใบ ลำต้น และรากมานึ่งทำเป็นยาประคบเพื่อคลายเส้น (ทั้งต้น)[5]
  26. นอกจากนี้ยังใช้ผักกาดน้ำหรือหญ้าเอ็นยืดเป็นยารักษากระดูกหัก กระดูกแตก โดยใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น เช่น หญ้าถอดปล้อง เถาวัลย์ปูน ตะไคร้ บอระเพ็ด เป็นต้น[8]
  27. หากใครกระดูกหักหรือแตกจากอุบัติเหตุ เส้นเอ็นตึง ก็ให้เอาน้ำมันมะพร้าวเทใส่กระทะพอประมาณ แล้วเอาหญ้าเอ็นยืดประมาณ 4-5 ต้น นำมาโขลกให้พอแหลก เอามาทอดเคี่ยวกับน้ำมัน แล้วเอามาทาบริเวณที่เส้นเอ็นตึงจะช่วยทำให้เอ็นยืดและสมานกระดูกที่แตกและหักได้เป็นอย่างดี (ต้น)[10
  • เอกสารอ้างอิง
    1. หนังสือพจนานุกรมสมุนไพรไทย, ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5. “ผักกาดน้ํา”. (ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม). หน้า 464-465.
    2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “ผักกาดน้ำ Common Plantain”. หน้า 167.
    3. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. “ผักกาดน้ำใหญ่”. (วิทยา บุญวรพัฒน์). หน้า 336.
    4. บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร, งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ, คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. “เรื่องผักกาดน้ำ”. (ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: natres.psu.ac.th. [23 เม.ย. 2014].
    5. หนังสือพืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1. (เกรียงไกรและคณะ).
    6. ผักพื้นบ้านในประเทศไทย, กรมส่งเสริมการเกษตร. “ผักกาดน้ํา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25/ftp/intranet/Research_AntioxidativeThaiVegetable/. [23 เม.ย. 2014].
    7. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. “หมอน้อย”. อ้างอิงใน: หนังสือพืชสมุนไพร เล่ม 2. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.qsbg.org. [23 เม.ย. 2014].
    8. ไตรย (THRAI) ฐานข้อมูลตำรายาสมุนไพรไทย, หน่วยปฏิบัติการวิจัยเคมีสารสนเทศ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “เรื่องน่ารู้ของผักกาดน้ำ : ยาเอ็น ยากระดูก ยานิ่ว”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: thrai.sci.ku.ac.th. [23 เม.ย. 2014].
    9. ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน, สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน). “ผักกาดน้ํา, หมอน้อย, หญ้าเอ็นหยืด”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th. [23 เม.ย. 2014].
    10. จำรัส เซ็ลนิล. “หญ้าเอ็นยืด "ยาเอ็น-ยากระดูก-ยานิ่ว" ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.jamrat.net. [23 เม.ย. 2014].
    11. ข่าวสดออนไลน์. “อจ.เภสัชมช.เผยประโยชน์หญ้าเอ็นยืด ”. (ภญ.รศ.ดร.พาณี ศิริสะอาด อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.khaosod.co.th. [23 เม.ย. 2014].
    12. กรีนคลินิก. “ผักกาดน้ำ”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.greenclinic.in.th. [23 เม.ย. 2014].
    ภาพประกอบ : www.flickr.com (by Flora of the Great Lakes Region of NSW, Wayne Weber, Flora, Fauna y Paisajes de Andalucía, Antony_j, joysaphine)ข้อมูลจากเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)
  • วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไทบ้านสมุนไพรไทหล่ม
  • วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไทบ้านสมุนไพรไทหล่ม ได้นำเอาภูมิปัญญาผู้เฒ่าผู้แก่มาพัฒนาต่อยอดให้สมุนไพรที่ทำมีประโยชน์และมีคุณค่า
    จากสมุนไพรที่ถูกปล่อยทิ้งผ่านไปผ่านมา ให้มีมูลค่าและมีประโยชน์ โดยเฉพาะ หญ้าเอ้นยืด รวมถึงสมุนไพรอื่นๆ ที่มีอยู่ในชุมชน

  • c830da7526-s28295283.jpg723438c25e-s28295286.jpg247fb54ed9-s28295282.jpg73f1141e4f-s29261846.jpg5babe6e48d-s29270028.jpg

มาตรฐานที่ได้รับ


ติดต่อ พูดคุย กับองค์กรเกษตรกร

ประเภทองค์กรเกษตรกร
วิสาหกิจชุมชน
ชื่อองค์กร
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มไทบ้านสมุนไพรไทหล่ม หมู่ 13 ตำบลน้ำชุน
ชื่อ
นายกิตติศักดิ์ กองคำ
ที่อยู่
17/1 หมู่ 13 ต.น้ำชุน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์
เบอร์โทรศัพท์
0900582953
อีเมล
LINE ID

ช่องทางการจัดส่ง

  • Kerry Express
  • J&T Express
  • Flash Express
  • ไปรษณีย์ไทย

ตำแหน่งร้านบนแผนที่


ให้คะแนนและแสดงความคิดเห็น

เพิ่มความคิดเห็น

กรุณากรอกตัวอักษรตามภาพ
จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ : 10,717,436 ราย