แหวนเงิน
จ.แม่ฮ่องสอน
รายละเอียดสินค้า
หมู่บ้านละอูบตั้งอยู่บนพื้นที่สูง ในพื้นที่ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัด แม่ฮ่องสอน
โดยมีประชากรเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ละว้า หรือเรียกว่า “ลเวือะ” ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านนี้เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร และมีการใช้ชีวิตแบบพอเพียง “ลเวือะ” เป็นกลุ่มคนที่มีภูมิปัญญาดั้งเดิมเกี่ยวกับการทำเครื่องเงิน นอกจากนี้เครื่องเงินยังมีความสำคัญต่อชนเผ่าละว้าเป็นอย่างมาก ชนเผ่าละว้าเป็นชนเผ่าหนึ่งที่มีจารีตประเพณีที่งดงามและควบคู่กันไปกับพิธีกรรม ใช้เครื่องเงินในการประดับตกเเต่ง ชนเผ่าลเวือะมีเครื่องเงินเกี่ยวข้องกับชีวิตตั้งเเต่เกิดจนเสียชีวิต
ในปี พ.ศ. 2437 เริ่มต้นการทำเครื่องเงินของละว้าหมู่บ้านละอูบ โดย นายปุทิ ได้ตีเหล็กเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพและใช้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว และได้ถ่ายทอด ให้กับนายตา ซึ่งเป็นลูกชายคนแรกของท่าน ต่อมาได้มีหนุ่มชาวขมุท่านหนึ่งเข้ามาอยู่ในหมู่บ้านและได้แต่งงานกับสาวในหมู่บ้าน ท่านเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำเครื่องเงินได้ถ่ายทอดการทำเครื่องเงินให้กับนายตา ซึ่งเดิมเป็นผู้ที่ตีเหล็กนั้น
ทำให้นายตามีความรู้และทักษะพื้นฐานในการทำเครื่องเงิน และได้พัฒนาทั้งการตีเหล็ก และทำเครื่องเงินในแบบต่างๆ ได้หลากหลายมากขึ้น นายตาได้ถ่ายทอดการทำเครื่องเงินให้กับบุตรชายสองคน คือ นายเอี๊ยะ ซึ่งเป็นลูกชายคนแรก นายอุด บุตรชายคนที่สอง รวมถึงได้ถ่ายทอดให้กับพี่น้องของตน คือ นายสุข นายบัง นายคำน้อย และนายบรุ ผู้เป็นญาติพี่น้องในหมู่บ้านเดียวกัน ซึ่งภายหลังบุคคลเหล่านั้นก็ได้ถ่ายทอดการตีเครื่องเงินให้กับญาติพี่น้องของตนเอง เช่น นายเอี๊ยะได้สอนให้กับนายกรีมา นายชลัง นายสุคำ และนายปันโต นายกรีมาก็ได้ถ่ายทอดให้กับลูกชายคนแรกที่ชื่อนายทองสุข มิ่งศรีสุข ส่วนนายสุขได้สอนให้กับนายอิ๊
และถ่ายทอดต่อให้กับนายเมือง บุตรชายคนแรกของตน และนายคำน้อยก็ได้สอนให้กับนายจอย นายตงตง และนายคำปัน ประทีปพจน์ ซึ่งเป็นบุตรชายคนที่ 6 ของตนเอง
มาตรฐานที่ได้รับ
ติดต่อ พูดคุย กับองค์กรเกษตรกร
ช่องทางการจัดส่ง
- Kerry Express
- J&T Express
- Flash Express
- ไปรษณีย์ไทย