ผ้าไหมฮีตสิบสอง
จ.ขอนแก่น
รายละเอียดสินค้า
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าบ้านหนองบัว มีความคิดริเริ่มในการก่อตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
- โดยจุดเริ่มต้น เกิดจากในปี 2539 นางสมพร ปีเจริญ ไปเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 (ย่อว่า ในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร และได้นำผ้าไหม “ลายหมี่คมห้า สีเม็ดมะขาม” ยาว 20 เมตร ไปจำหน่ายได้เงินมาจำนวน 12,000 บาท รู้สึกดีใจและภูมิใจมาก ได้กลับมาเล่าให้คนในหมู่บ้านฟัง
- และนางเคี่ยม ศรีภูมิ ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าบ้านหนองบัว คนปัจจุบัน จึงได้ชักชวนสมาชิก ร่วมกันทำผ้าไหม “ลายหมากจับ สีบานเย็น” ความยาว 60 เมตร และในปี 2540 ได้ไปเฝ้ารับเสด็จและนำผ้าไปจำหน่าย และราชเลขานุการฯ ได้แนะนำให้ส่งผ้าไหมไปขายที่ ศูนย์ศิลปาชีพ ณ สวนจิตรลดา ซึ่งสมาชิกก็มีรายได้จากการส่งผ้าไหมไปขายสวนจิตรลดา จนถึงปัจจุบัน
- ปี พ.ศ. 2547 กำนันประมาณ พิลาศธาดากุล ได้มีการรวมกลุ่มกันขึ้น โดยมีแนวคิดเพื่อที่จะสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว
นอกเหนือจากการทำไร่ ทำนา จึงได้รับการสนับสนุนจาก อบต. และพัฒนาชุมชน
- ปี 2549 ได้รับคำแนะนำจากสำนักงานเกษตรอำเภอพล ในการจัดตั้งเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าบ้านหนองบัว ในวันที่ 2 มีนาคม 2549 จำนวนสมาชิก 45 คน มีนางเคี่ยม ศรีภูมิ เป็นประธานกลุ่ม และมีการดำเนินกิจกรรมมาจนถึงปัจจุบัน สมาชิกจำนวน 74 คน
ด้วยการทอผ้าไหมต้องใช้เวลานาน มีลูกหลานคนในหมู่บ้าน ได้ร่วมกันคิดค้น สร้างเรื่องราว สร้าง Story ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม ของชาวอีสาน โดยสอดแทรกวิถีชีวิตชาวบ้านลงไปในผืนผ้าทอ จึงก่อเกิดเป็น “ผ้าไหมฮีตสิบสอง” ปัจจุบันราคาขาย 2,000 – 3,000 บาท/ผืน โดยยกตัวอย่าง“ผ้าไหมฮีตสิบสอง” เช่น
1) เมษายน – เดือนสี่ “บุญผะเหวด” (ลายขันหมากเบ็งใหญ่)
- ซึ่งบุญผะเหวดหรือบุญมหาชาติ เป็นงานบุญเดือนสี่ ถือเป็นบุญใหญ่ ต้องใช้เครื่องบูชาชั้นสูง ชาวบ้านจะเตรียมเครื่องถวายพร้อมขันหมากเบ็ง (พานบายศรี) ขนาดใหญ่กว่า และมีจำนวนมากกว่า บุญเดือนยี่ (บุญคูณลาน ขันหมากเบ็งน้อย)
- โดยลายผ้าไหมจะเป็นภาพขันหมากเบ็ง แต่ลวดลายจะซับซ้อนกว่าแบบบุญเดือนยี่ มัดหมี่ยากกว่า การทอใช้ตะกรอมากกว่า
2) พฤษภาคม – เดือนห้า “บุญสงกรานต์” (ลายขาเปีย)
- ซึ่งเป็นการทำบุญวันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่โบราณ จะมีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำขอพรจากพระสงฆ์ ผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่ ชาวบ้านจะทำบุญตักบาตรก่อพระเจดีย์ทราย และเล่นสาดน้ำกันอย่างสนุกสนาน
- โดยใช้ผ้าไหมลายขาเปีย มีความหมายคล้ายๆ กับการไขว้ การเกี่ยวพัน หมายถึงความผูกพัน ของชาวบ้าน เมื่อถึงเดือน 5 ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนให้กลับมารวมกัน ผูกพันกันเหมือนลายขาเปียผูกฝั้น คือด้ายพันผูกแขน
มาตรฐานที่ได้รับ
ติดต่อ พูดคุย กับองค์กรเกษตรกร
ช่องทางการจัดส่ง
- Kerry Express
- Flash Express
- ไปรษณีย์ไทย