เข็มกลัดปีกแมลงทับ
จ.หนองบัวลำภู
รายละเอียดสินค้า
ปี 2546 ป่าไม้จังหวัดขณะนั้นได้จัดอบรมและพาไปฝึกอบรมที่ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานหนองบัวลำภู ได้สอนการใช้ประโยชน์จากปีกแมลงทับ ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น แมลงทับกางปีก ผีเสื้อกางปีก แมลงปอ ปิ่นปักผม ต่างหู ชุดสร้อยคอ เป็นต้น แต่หลังจากนั้นไม่นานแมลงทับที่มีในธรรมชาติก็เริ่มขาดแคลน หายากขึ้น
ปี 2550-2557 มีแนวคิดอยากจะเลี้ยง จึงศึกษาหาความรู้ ศึกษาการอยู่ในธรรมชาติของแมลง ได้จับจากธรรมชาติมาปล่อยเลี้ยงก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ได้ผล เลี้ยง 1 งาน ได้แมลงทับกว่า 10,000 ตัว
คุณสมัครบอกอีกว่า ปี 2558 เลี้ยงในพื้นที่ 1 งาน โดยปลูกต้นไม้และอนุรักษ์ต้นไม้เดิมที่มีอยู่แล้ว เพื่อเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย พืชที่แมลงทับชอบกิน ได้แก่ ใบต้นแดง ใบมะขามป้อม ใบมะขามเทศ ใบเพ็ก เป็นต้น จากนั้นนำตาข่าย (มุ้งเขียว) มาล้อมด้านข้างสูงประมาณ 3-4 เมตร (ไม่คลุมด้านบน) จากนั้นหาแมลงทับจากธรรมชาติมาปล่อยรวมทั้งรับซื้อจากเพื่อนบ้านมาปล่อยด้วย
สำหรับวงจรชีวิตของแมลงทับ จะมีระยะตัวเต็มวัย-ระยะไข่-ระยะตัวอ่อน-ระยะเข้าฝัก (ดักแด้) โดยหลังจากผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียจะวางไข่ไว้ในดินราวเดือนสิงหาคม จากนั้นราวเดือนกันยายน ทั้งเพศผู้และเพศเมียจะตายเนื่องจากสิ้นอายุขัย เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม ไข่จะถูกฟักออกเป็นตัวซึ่งอาศัยกินรากไม้ที่อยู่ในดินแล้วเข้าฝักอยู่ในดินเป็นเวลาหลายเดือน จากนั้นจะเห็นตัวเต็มวัยออกมากินใบพืชราวปลายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ดังนั้น ในเดือนกันยายน จะเข้าไปเก็บแมลงทับที่ตายร่วงหล่นอยู่บนพื้นดินนำมาทำเป็นเครื่องประดับชนิดต่างๆ โดยในปีที่ผ่านมาสามารถเลี้ยงแมลงทับได้กว่า 10,000 ตัว
ปี 2550-2557 มีแนวคิดอยากจะเลี้ยง จึงศึกษาหาความรู้ ศึกษาการอยู่ในธรรมชาติของแมลง ได้จับจากธรรมชาติมาปล่อยเลี้ยงก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ได้ผล เลี้ยง 1 งาน ได้แมลงทับกว่า 10,000 ตัว
คุณสมัครบอกอีกว่า ปี 2558 เลี้ยงในพื้นที่ 1 งาน โดยปลูกต้นไม้และอนุรักษ์ต้นไม้เดิมที่มีอยู่แล้ว เพื่อเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัย พืชที่แมลงทับชอบกิน ได้แก่ ใบต้นแดง ใบมะขามป้อม ใบมะขามเทศ ใบเพ็ก เป็นต้น จากนั้นนำตาข่าย (มุ้งเขียว) มาล้อมด้านข้างสูงประมาณ 3-4 เมตร (ไม่คลุมด้านบน) จากนั้นหาแมลงทับจากธรรมชาติมาปล่อยรวมทั้งรับซื้อจากเพื่อนบ้านมาปล่อยด้วย
สำหรับวงจรชีวิตของแมลงทับ จะมีระยะตัวเต็มวัย-ระยะไข่-ระยะตัวอ่อน-ระยะเข้าฝัก (ดักแด้) โดยหลังจากผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียจะวางไข่ไว้ในดินราวเดือนสิงหาคม จากนั้นราวเดือนกันยายน ทั้งเพศผู้และเพศเมียจะตายเนื่องจากสิ้นอายุขัย เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม ไข่จะถูกฟักออกเป็นตัวซึ่งอาศัยกินรากไม้ที่อยู่ในดินแล้วเข้าฝักอยู่ในดินเป็นเวลาหลายเดือน จากนั้นจะเห็นตัวเต็มวัยออกมากินใบพืชราวปลายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ดังนั้น ในเดือนกันยายน จะเข้าไปเก็บแมลงทับที่ตายร่วงหล่นอยู่บนพื้นดินนำมาทำเป็นเครื่องประดับชนิดต่างๆ โดยในปีที่ผ่านมาสามารถเลี้ยงแมลงทับได้กว่า 10,000 ตัว
มาตรฐานที่ได้รับ
ติดต่อ พูดคุย กับองค์กรเกษตรกร
ช่องทางการจัดส่ง
- Kerry Express
- SCG Express
- J&T Express
- Flash Express
- ไปรษณีย์ไทย